วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

จุดประสงค์

1.เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาเกี่ยวกับความหมายระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
2.เพื่อเป็นแบบอย่างในการศึกษาทำความเข้าใจในระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
 (Executive Information Systems :EIS )


ความหมาย
การที่นำระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ในการดำเนินงานทางธุรกิจ การจัดการระบบสารสนเทศได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จในการ ดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสร้างความแข็งแกรงเชิงกลยุทธ์ โดยพัฒนาความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ ขององค์การมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การผลิต การขาย การตลาด การจัดการทางการเงิน และทรัพยากรบุคคล ประการสำคัญหลายองค์การได้ให้ความสนใจในการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับผู้ บริหาร เพื่อให้การตัดสินใจในปัญหาหรือโอกาสทางธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems) หรือที่เรียกว่า EISหมาย ถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เนื่องจากผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องการข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะด้านระยะเวลาในการเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูล โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันทางธุรกิจที่เกิดขึ้นและปรับตัวอย่าง รวดเร็วในปัจจุบันได้สร้างแรงกดดันให้ผู้บริหารต้องตัดสินใจภายใต้ข้อจำกัด ของทรัพยากรทางการจัดการ ระยะเวลา ข้อมูล และการดำเนินงานของคู่แข่งขัน นอกจากนี้ผู้บริหารหลายคนยังมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศที่จำกัด โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีอายุมากและไม่มีโอกาสได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านการใช้งานสารสนเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาและออกแบบระบบสารสนเทศที่สามารถช่วย ให้ผู้บริหารปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหารต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร บางครั้งจะเรียกว่า ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (Executive Support System) หรือ ESS


คุณสมบัติของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
เพื่อให้การใช้งานของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารเกิดประโยชน์ สูงสุด ดังนั้น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Support)การพัฒนาระบบ EIS ผู้พัฒนาจะต้องมีความรู้ในเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) และปัจจัยสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Factors) เพื่อที่จะสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเพิ่มประสิทธ์ภาพในการกำหนดแผนทางกลยุทธ์ที่สมบูรณ์
2. เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment Focus)เนื่องจากข้อมูล หรือสารสนเทศ เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้น EIS ที่ ดี จะต้องมีการใช้ฐานข้อมูลขององค์การได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังจะต้องออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับแหลงข้อมูลที่มาจากภายนอกองค์การ เพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลที่สำคัญที่จำเป็นต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร
3. มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง (Broad-based Computing Capabilities)การ ตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่แน่นอนและ ขาดความชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะมองถึงภาพโดยรวมของระบบแบบกว้าง ๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียด ดังนั้นการคำนวณที่ผู้บริหารต้องการจึงเป็นลักษณะง่าย ๆ ชัดเจน เป็นรูปธรรม และไม่ซับซ้อนมาก เช่น การเรียกข้อมูลกลับมาดู การใช้กราฟ การใช้แบบจำลองแสดงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
4. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of Learning and Use)ผู้ บริหารจะมีกิจกรรมที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกองค์การ ผู้บริหารจึงมีเวลาในการตัดสินใจในแต่ละงานน้อยหรือกล่าวได้ว่าเวลาของผู้ บริหารมีค่ามาก ดังนั้นการพัฒนา EIS จะต้องเลือกรูปแบบการ แสดงผลหรือการโต้ตอบกับผู้ใช้ในแนวทางที่ง่ายต่อการใช้งาน และใช้ระยะเวลาสั้น เช่น การแสดงผลรูปกราฟ ภาษาที่ง่าย และการโต้ตอบที่รวดเร็ว5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Customization)การตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ต่อพนักงานอื่น และต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer) ต้องคำนึงถึงในการพัฒนา EIS เพื่อให้สามารถพัฒนา EIS ให้มีศักยภาพสูง มีประสิทธิภาพดีเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นแบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามต้องการ


ข้อดีของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
2. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาสั้น
4. ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศที่นำเสนออย่างชัดเจน
5. ประหยัดเวลาในการดำเนินงานและการตัดสินใจ
6. สามารถติดตามและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ


ข้อจำกัดของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจาก EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง
2. ข้อมูลและการนำเสนออาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร
3. ยากต่อการประเมินประโยชน์และผลตอบแทนที่องค์การจะได้รับ
4. ไม่ถูกพัฒนาให้ทำการประมวลผลที่ซับซ้อนและหลากหลาย
5. ซับซ้อนและยากต่อการจัดการข้อมูล
6. ยากต่อการรักษาความทันสมัยของข้อมูลและของระบบ
7. ปัญหาด้านการรักษาความลับของข้อมูล


คุณลักษณะของระบบสนับสนุนผู้บริหาร EIS
– มีการใช้งานบ่อย
– ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
– ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
– การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
– การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
– ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
– การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
– ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด


ลักษณะของระบบ ESS
ESS (Enterprise Support Systrem) ระบบ สนับสนุนผู้บริหารระดับสูง ถูกออกแบบมาช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงซึ่งใช้ในการวางแผนกลยุทธ หรือแผนการดำเนินงานระยะยาวขององค์กร ระบบ ESS มีโครงสร้างที่เหมาะสมกับปัญหาทแบบไม่มีโครงสร้างจึงต้องเน้นที่ความอ่อนตัว ในการทำงานและสนับสนุนการสื่อสารมากกว่าที่จะสร้างโปรแกรมประยุกต์ที่ออกแบบ มาให้ทำงานเฉพาะด้านเหมือนในระบบ MIS เท่านั้น ระบบ ESS ใช้ข้อมูลทั้งจากภายนอกองค์กร เช่นตารางการประกาศใช้กฎหมายใหม่ กำหนดการชำระภาษี หรือข้อความโฆษณาจากบริษัทคู่แข่ง และข้อมูลภายในองค์กร โดยข้อมูลที่ได้นั้นจะถูกกลั่นกรองข้อมูลและนำเสนอเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญ ต่อผู้บริหารระดับสูงซึ่งจะเน้นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่ช่วยให้การนำเสนอ มีความสะดวกและง่ายแก่การรับรู้มากที่สุดเช่น การใช้รูปภาพกราฟฟิก
ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณทั่วไปและการสื่อสารซึ่งจะตอบคำถามเช่น แนวโน้มการทำธุรกิจในอนาคตควรเป็นประเภทใดบริษัทคู่แข่งมีฐานะการดำเนินงาน เป็นอย่างไร จะป้องกันผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่แกว่งตัวได้อย่างไร


ลักษณะของระบบ ESS
Ø ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
Ø ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
Ø เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก
Ø สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
Ø พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร
Ø มีระบบรักษาความปลอดภัย


เปรียบเทียบระบบ  ESS กับระบบสารสนเทศอื่น
ลักษณะของระบบ
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ESS
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS
วัตถุประสงค์หลัก
สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
สนับสนุนการวางแผนและตัดสินใจ
ควบคุมตรวจสอบการปฎิบัติการและสรุปผลสภาพการณ์
ข้อมูลนำเข้า
ข้อมูล สรุปจากภายในและภายนอกองค์การ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับ ตัวบ่งชี้ผลการปฎิบัติงานขององค์การและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำเนิน ธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
รายงานวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ การพยากรณ์ การตอบข้อถาม
รายงานสรุป รายงานสิ่งผิดปกติ สารสนเทศที่มีโครงสร้าง
ผู้ใช้
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้บริหารระดับต่างๆ  ผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์
ผู้บริหารระดับกลาง
รูปแบบของการ ตัดสินใจ
มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบ่อยรูปแบบไม่ชัดเจนหรือไม่มีโครงสร้าง
กึ่งโครงสร้าง และ ไม่มีโครงสร้าง
มีโครงสร้างแน่นอน
การใช้ข้อมูลสนับสนุน
ข้อมูลที่สนับสนุนการตัดสินใจทางอ้อม ไม่มีกฎเกณฑ์ แน่นอนตายตัวซึ่งขึ้นกับการเลือกนำข้อมูลไปใช้
ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในสถานการณ์เฉพาะด้านหรือเฉพาะเรื่อง
ข้อมูลสนับสนุนตามรูปแบบและระยะเวลาที่กำหนด






วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559


แบบทดสอบหลังเรียน
เรื่อง ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร


1. EIS ย่อมาจากอะไร
1.Executive Information Support
2.Executive Information Systems
3.Executive Support System
4. Executive Support System

2. คุณสมบัติของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1.Strategic Planning Support
2.External Environment Focus
3.System Analyst and Designer
4.Broad-based Computing Capabilities

3. ข้อใดเป็นลักษณะของระบบ ESS
1.ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
2.ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
3.เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก
4.ถูกทุกข้อ

4. ข้อดีของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารคือข้อใด
ก. ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
ข. มีข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจาก EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อ
    ใช้งานเฉพาะอย่าง
ค.ข้อมูลและการนำเสนออาจไม่สอดคล้องกับความต้อง
    การของผู้บริหาร
ง.ซับซ้อนและยากต่อการจัดการข้อมูล

5. ข้อจำกัดของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารคือข้อใด
ก. ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศที่นำเสนออย่างชัดเจน
ข.ยากต่อการประเมินประโยชน์และผลตอบแทนที่องค์การจะได้รับ
ค.สามารถติดตามและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ง.ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องคอมพิวเตอร์
   และเทคโนโลยีสารสนเทศ

6. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
ก.สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์
ข.เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร
ค.มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง
ง.เข้าถึงระบบได้ยาก

7. สารสนเทศสำหรับผู้บริหารมีคุณลักษณะสำคัญที่แตก
     ต่างจากสารสนเทศสำหรับบุคคลอื่นในองค์การอย่างไร
ก. ไม่มีโครงสร้าง
ข. มีความแน่นอน
ค. แหล่งข้อมูลที่เป็นทางการ
ง. แสดงรายละเอียด

8. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของระบบ ESS
ก.ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
ข.ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
ค.เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก
ง.ไม่มีข้อถูก

9. ข้อใดเป็น Information
ก. ข่าวลือ
ข. ข่าวตามหนังสือพิมพ์
ค. โทรทัศน์
ง. เพื่อนบอก

10. ข้อใดคือข้อดีในการนำ EIS มาใช้งานในองค์การ
ก. ข้อมูลและการนำเสนออาจไม่สอดคล้อง
     กับความต้องการของผู้บริหาร
ข. มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง
ค. ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาสั้น
ง. ถูกทุกข้อ


วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559


สมาชิกในกลุ่ม

เรื่อง ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
นายศุภชัย มณีมัย รหัสนักศึกษา 5681135004
นายรัฐสิทธิ์ ทับทิมเมือง รหัสนักศึกษา 5681135013
นางสาวเสาวนันท์ แหนะหมัด รหัสนักศึกษา 5681135024
นายกรกฎ สุสิลา รหัสนักศึกษา 5681135036
นางสาวชฎาภรณ์ ชื่นชม รหัสนักศึกษา 5681135043

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559